วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การดูแลเมื่อน้องหมาป่วย 1

ขั้นตอนพื้นฐานในการป้อนยาสุนัข 
ในหลาย ๆ กรณี สุนัขที่ป่วยจะอาการดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วขึ้น เมื่อได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้คนที่สุนัขคุ้นเคยในบ้านของตนเอง คุณควรจัดหาที่ที่สบาย แห้งและอบอุ่นให้แก่สุนัข และควรเป็นที่ที่สุนัขลุกไปขับถ่ายได้สะดวก สุนัขไม่มีวันเข้าใจหรอกว่า ทำไมคุณถึงกำลังทำสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่เป็นที่พอใจแก่สุนัข ทว่าคุณก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด การพยาบาลสุนัขให้กลับคืนสู่สุขภาพปกติควรทำอย่างเอื้ออาทรให้มากที่สุดเท่า ที่จะเป็นไปได้
การป้อนยา
สุนัขที่ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บอาจจำเป็นต้อง ได้รับยาที่สัตวแพทย์สั่งจ่ายให้การป้อนยาสุนัขต้องทำอย่างนุ่มนวล ทั้งนี้การหย่อนยาลงในชามอาหารของสุนัขไม่ได้รับประกันว่าสุนัขจะกินยานั้น เข้าไปด้วย จงอย่าเรียกสุนัขให้มาหาคุณเพื่อเพียงป้อนยา มิฉะนั้นสุนัขอาจจะกลัวทุกครั้งที่ได้ยินชื่อตัวเอง วิธีที่ถูกคือ คุณควรเข้าไปหาสุนัขเอง
การป้อนยาเม็ด
โชคไม่ดีที่ยาสำหรับสุนัขซึ่งมีรสชาติอร่อยถูก ปากสามารถเคี้ยวได้อย่างสบายใจมีอยู่ไม่กี่ชนิด ยิ่งไปกว่านั้น ยาเม็ดส่วนใหญ่มีรสไม่พึงปรารถนาด้วยซ้ำไป และสุนัขฉลาดพอที่จะซ่อนยาไว้ในปาก เพื่อนำไปบ้วนทิ้งภายหลังเมื่อเจ้าของไม่สังเกต
1. สั่งให้สุนัขนั่ง ใช้มือข้างหนึ่งเปิดปากสุนัขอย่างนุ่มนวล โดยจับปากสุนัขจากด้านบน
2.ใช้มืออีกข้างหนึ่งหย่อนเม็ดยาลงไปในคอให้ ลึกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยให้วางอยู่เหนือโคนลิ้นส่วนที่โป่งขึ้นมา
3.ใช้มือจับปากสุนัขให้ปิด และจับหัวให้เงยขึ้นช้า ๆ แล้วลูบคอลงมาด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
4.เมื่อสุนัขกลืนยาและเลียริมฝีปาก นี่หมายความว่าการป้อนยาเสร็จเรียบร้อย และจงชมสุนัขทุกครั้งที่กินยาสำเร็จ


การป้อนยาน้ำ

วิธีการป้อนยาน้ำที่ถูกต้องและได้ผลดี คือ การใช้หลอดฉีดยาเป็นอุปกรณ์ช่วยป้อน ถ้าสุนัขไม่ยอมกลืนยาเม็ด คุณอาจนำยาเม็ดไปบดและผสมกับน้ำหวาน และฉีดยาน้ำเข้าไปตรงข้างปาก ทั้งนี้ยาน้ำแก้ไอก็สามารถป้อนด้วยหลอดฉีดยาได้เช่นกัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น